หน้าหลัก :ประวัติความเป็นมา » การผลิตเกลือในประเทศไทย...

การผลิตเกลือในประเทศไทย

 

ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ใกล้แถบชายทะเลยังมีความเข้าใจว่าเกลือที่ผลิตในประเทศไทยมีเพียง 2 ชนิด คือ

 

  เกลือทะเล ผลิตจากน้ำทะเล ในแถบจังหวัด สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม เพชรบุรี

 

  เกลือสินเธาว์ ผลิตจากน้ำเค็มใต้ดิน  ในแถบจังหวัดในภาคอีสานตอนบน เช่น อุดรธานี และ สกลนคร


      ซึ่งมีวิธีการผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการดึงน้ำเค็มมาตากบนนาเกลือและใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อให้เกลือตกผลึกเป็นเม็ดเกลือ โดยไม่มีกระบวนการที่ทำให้เกลือสะอาดก่อนจัดจำหน่าย จึงทำให้เกลือทั้งสองชนิดนี้ พบสิ่งปลอมปนและมีความชื้นสูง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนำไปผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นเกลือที่สะอาด คุณภาพสูง

 

  เกลือบริสุทธิ์


      ด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทริเริ่มพัฒนาการผลิตเกลือบริสุทธิ์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการเกลือที่ขาวสะอาด   โดยในปี 2531  บริษัทฯ  ได้ตั้งโรงงานเพื่อผลิตเกลือบริสุทธิ์ เป็นรายแรกในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีกระบวนการทำให้เกลือขาว สะอาด ดึงเอาสิ่งปลอมปนและโลหะหนักออก เพื่อให้ได้เกลือบริสุทธิ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เน้นด้านคุณภาพ

 


ความแตกกต่างระหว่างการผลิตเกลือบริสุทธิ์กับเกลือทั่วไป

เกลือบริสุทธิ์ เกลือทะเล / เกลือสินเธาว์

เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากยุโรป

ผลิตแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขาว สะอาด ปราศจากสิ่งปลอมปน

มีสิ่งปลอมปน ดิน กรวด ทราย ในนาเกลือ

เม็ดร่วนละเอียดสม่ำเสมอ

เม็ดหยาบ ใหญ่ เล็ก ไม่เท่ากัน

มีความชื้นต่ำไม่เกิน 2%

มีความชื้นสูง 8- 10%

สามารถผลิตได้ทั้งปี

ผลิตได้แค่ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของทุกปี

ราคาคงที่แน่นอน สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ง่าย

ราคาขึ้นลง ผันผวนตามฤดูกาลผลิต

ปริมาณไอโอดีนได้มาตรฐาน ค่าไอโอดีนเปลี่ยนแปลงน้อยเพราะความชื้นต่ำ และใช้หัวสเปรย์ไอโอดีนที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

เกลือมีความชื้นสูง ทำให้ค่าไอโอดีนไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงง่าย 

รักษาสิ่งแวดล้อม 

- ทำให้เกิดดินทรุด ถล่ม กระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
- การต้มเกลือจากแกลบทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ